วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

วิธีติดตั้งลูกบิดประตู















ขั้นตอนที่ 1ให้ช่างใช้แผ่นแม่แบบที่ติดมากับชุดลูกบิดประตูติดไว้ที่ประตู โดยให้วางอยู่ในตำแหน่งที่ต้องการ พร้อมกันนั้นให้ช่างทำเครื่องหมายลงบนประตูไว้ หลังจากนั้นให้ใช้สว่านเจาะช่องใส่ลูกบิดในตำแหน่งที่ทำเครื่องหมายไว้ และให้ช่างทำการและเจาะด้านสันของประตูเพื่อใส่แกนล็อคของลูกบิด

ขั้นตอนที่ 2ให้ช่างวางแผ่นครอบแกนล็อกในตำแหน่งที่จะทำการติดตั้งแกนล็อค โดยให้ทำการขีดเส้นรอบแผ่นครอบก่อน จากนั้นให้ช่างแซะเนื้อไม้ออกให้มีความลึกเท่ากับความหนาของแผ่นครอบ

ขั้นตอนที่ 3ให้ช่างใส่ชุดเดือยล็อคเข้าไปในด้านสันประตูและใส่ฝาครอบเดือยสกรู เมื่อทำการใส่ชุดเดือยล็อคและฝาครอบเดือยสกรูแล้ว ให้ช่างทำการขันยึดติดแผ่นครอบให้แน่น และใส่ลูกบิดส่วนที่อยู่ด้านนอกและส่วนที่อยู่ด้านใน โดยให้ปฏิบัติตามขั้นตอนแนะนำที่แนบมากับลูกบิด

ขั้นตอนที่ 4ให้ช่างทำการเจาะช่องรับเดือยล็อคที่ขอบวงกบของประตู โดยช่างจะต้องวางตำแหน่งแกนกลางช่องที่เจาะอยู่ในตำแหน่งเดียวกับแกนล็อค และทำการติดตั้งแผ่นรับการกระแทกโดยวางแผ่นรับการกระแทกครอบรูที่เจาะแล้วแซะให้มีความลึกเท่ากับความหนาของแผ่นรับกระแทกพร้อมใช้สกรูยึดให้แน่น

www.สารพัดช่าง.com

วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

กระจกตัดแสง (Heat Absorbing Glass)















ลักษณะทั่วไปปัจจุบันอาคารบ้านเรือนส่วนใหญ่นิยมใช้กระจกเป็นส่วนประกอบของผนังอาคาร เนื่องจากมีความสวยงามและช่วยให้สามารถมองออกไปเห็นทัศนียภาพภายนอกได้มากยิ่งขึ้น แต่การเลือกใช้ควรคำนึงถึงความร้อนที่จะเข้ามาภายในด้วยเนื่องจากกระจกทั่วไปจะยอมให้ทั้งแสงและความร้อนผ่านเข้ามาเป็นจำนวนมาก จึงควรเลือกใช้กระจกที่มีคุณสมบัติที่ช่วยลดแสงจ้าและปริมาณความร้อนที่ผ่านเข้ามาให้มีความเหมาะสมชนิดของกระจกที่ใช้เพื่อป้องกันแสงจ้าและความร้อนเข้ามาภายในบ้านหรืออาคารนั้นสามารถแบ่ง ออกได้เป็น 5 ประเภท ใหญ่ๆ คือ
1) กระจกใส (Clear Glass)
2) กระจกสี (Color Glass)
3) กระจกสีตัดแสง (Heat Absorbing Glass)
4) กระจกเคลือบผิวสะท้อนแสง (Reflective Metallic Coating Glass)
5) กระจกฉนวนกันความร้อน (Insulating Glass)

แต่ชนิดที่มีการใช้เพื่อป้องกันแสงจ้าและความร้อนมากที่สุด และได้ทำการศึกษาเพื่อจะเป็นประโยชน์ในการเลือกใช้ คือ กระจกสีตัดแสง (Heat Absorbing Glass)การแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ที่มีลักษณะเป็นรังสีคลื่นสั้น (Short Wave Radiation) ซึ่งสามารถทะลุผ่านเข้าไปในอาคารได้ และเมื่อรังสีคลื่นสั้นกระทบกับวัสดุต่างๆภายในอาคาร เช่น พื้น ผนัง กระจก ฯลฯ ซึ่งดูดซับคลื่นรังสีเอาไว้ แล้วเปลี่ยนเป็นรังสีคลื่นยาว(Long Wave Radiation) หรือพลังงานความร้อนซึ่งไม่สามารถทะลุผ่านวัสดุโปร่งแสงอย่างกระจกกลับออกมาภายนอกอาคารได้ ดังนั้นความร้อนจึงสะสมอยู่ภายในอาคาร และกลายเป็นส่วนหนึ่งของภาระการทำความเย็นของระบบปรับอากาศ ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ค่อนข้างมากกระจกสีตัดแสง เป็นกระจกโปร่งแสงที่สามารถช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้ โดยสีต่างๆที่เห็นนั้นเกิดจากการเติมออกไซด์ของโลหะ เช่น เหล็ก โคบอลต์ หรือซีลีเนียมลงในส่วนผสมของเนื้อกระจก ช่วยลดพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์ที่จะผ่านเข้ามา ด้วยคุณสมบัติที่สามารถดูดกลืนพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์ ที่ส่องมากระทบชั้นผิวกระจกได้ประมาณร้อยละ 40-50 จึงมีส่วนช่วยในการลดภาระการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศลงได้ นอกจากนี้ยังช่วยลดความจ้าของแสงที่ส่องผ่านเข้ามา ทำให้ได้แสงที่นุ่มนวลสบายตาขึ้น โดยมีสีให้เลือกใช้หลายสี เช่น สีบรอนซ์ สีเขียว สีฟ้า ฯลฯ แต่สีที่เป็นที่นิยมใช้มากที่สุดในประเทศไทยจะเป็นสีเขียว

ที่มา : สำนักส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน (สสอ.) กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน

www.สารพัดช่าง.com

วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

วิธีแก้ไขปัญหาฝ้าเพดานบวม เนื่องจากความชื้น














สาเหตุของแผ่นฝ้าเพดานบวมที่มาจากความชื้น อาจเกิดขึ้นจากน้ำฝนที่หยดลงมาตามหลังคาที่รั่ว หรือน้ำที่รั่วมาจากท่อน้ำประปาชั้นบน ทำให้แผ่นฝ้าเพดานเกิดการอมน้ำจนบวมพอง อีกทั้งยังทำให้แผ่นฝ้าเพดานเกิดเชื้อรา เป็นรอยด่างดำ ทำให้ห้องดูไม่สวยงาม นอกจากนั้น ยังอาจมีสาเหตุมาจากบนฝ้าเพดานเป็นที่อยู่ของนก หนู หรือค้างคาว หากเจ้าของบ้านไม่ดูแลให้ดี สัตว์เหล่านี้อาจมาทำรังอยู่บนฝ้าเพดานของบ้าน และทิ้งเศษมูลหรือปัสสาวะไว้บนฝ้าเพดาน ทำให้ฝ้าเพดานเป็นที่สะสมสิ่งสกปรก และเกิดการบวมได้ช่างสามารถแก้ไขได้โดยการเปลี่ยนฝ้าเพดานใหม่ ปัจจุบันสามารถหาซื้อได้ง่ายตามร้านวัสดุก่อสร้าง แต่หากฝ้าเพดานของท่านเป็นชนิดที่ตัดแบ่งมาจากแผ่นใหญ่ ก็ต้องตัดฝ้าให้ได้ขนาดแล้วจึงค่อยนำมาเปลี่ยน วิธีการป้องกันเพื่อไม่ให้ฝ้าเพดานเป็นที่อยู่ของสัตว์ต่างๆ1) ปิดชายหลังคาให้มิดชิด ซึ่งต้องทำในขณะที่ช่างทำการมุงหลังคา โดนเฉพาะตามร่องลอนกระเบื้องหลังคา และพื้นที่ใต้หลังคา2) ไม่ปลูกต้นไม้ที่มีความสูงชิดกับบ้านจนเกินไป เนื่องจากกิ่งไม้ของต้นไม้ใหญ่อาจเติบโตและมาพาดกับหลังคาบ้านได้ ซึ่งต้นไม้มักเป็นที่อยู่อาศัยของนก แมลง และค้างคาว กิ่งไม้อาจเป็นสะพานให้สัตว์เหล่านี้เข้ามาทำรังบนหลังคาบ้านท่านได้3) กรุลวดตาข่ายไว้บนฝ้าเพดาน เพื่อไม่ให้สัตว์ต่างๆ เข้าไปในฝ้าเพดานได้ โดยขนาดของช่องตาข่ายควรเล็กกว่า 1 ตารางเซนติเมตร4) ใส่กระเบื้องโปร่งแสงบนหลังคาเป็นบางจุด เนื่องจากสัตว์บางชนิดไม่ชอบอยู่ในที่สว่าง เช่น ค้างคาว หากบ้านของท่านอยู่ใกล้แหล่งค้างคาว ก็ควรอย่างยิ่งที่จะติดกระเบื้องโปร่งแสงไว้บนหลังคา เพื่อให้แสงแดดส่องเข้มาในเวลากลางวัน

www.สารพัดช่าง.com